สถานีวิทยุพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (ว.พ.ช.) คลื่น FM 104.25
โทรศัพท์ ๐๒-๔๐๘-๖๔๗๐, ๐๘๙-๖๖๘-๑๐๔๗
อีเมล์ boonroumradio@gmail.com

คลังภาพกิจกรรม จาริกธรรมตามรอยบาทพระศาสดา อินเดีย-เนปาล 3-13 มีนาคม 2558

“จาริกธรรมตามรอยบาทพระศาสดา อินเดีย-เนปาล 3-13 มีนาคม 2558”

ผู้ร่วมเดินทาง 45 คน




สถานีวิทยุพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พุทธมณฑล) จัดกิจกรรม

“จาริกธรรมตามรอยบาทพระศาสดา อินเดีย-เนปาล 3-13 มีนาคม 2558”
คณะสถานีวิทยุว.พช.ออกเดินทางแสวงบุญอินเดีย-เนปาล
เดินทางไปยังสถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา ปรินิพพาน
สถานที่สำคัญในพระพุทธศาสนา เช่น กบิลพัสดุ์ แม่น้ำอโนมา
วัดเวฬุวันมหาวิหาร นาลันทา บ้านนางวิสาขา บ้านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
วัดไทยนาลันทา วัดทิเบต วัดเนปาล เป็นต้น

ผู้ร่วมเดินทาง 45 คน

วันแรก ของการเดินทาง

เดินทางไปที่ต้น พระศรีมหาโพธิ์ สถานที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ นมัสการพระพุทธเมตตานมัสการพระแท่น วัชรอาสน์ สวดมนต์ราลึกคุณองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์

วันที่สอง

หลังจากนั้นเดินทางไปชมแม่น้าเนรัญชรา สถานที่พระพุทธองค์ทรงอธิษฐานลอยถาดทองคา บ้านนางสุชาดาผู้ถวายข้าวมธุปายาสซึ่งปัจจุบันเหลือเพียงซากเนินดิน สถานที่โสตถิยพราหมณ์ถวายหญ้า กุสะ 8 กำแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชมวัดพุทธนานาชาติ วัดจีน วัดเนปาล วัดจีน วัดทิเบต

วันที่สาม

เดินทางสู่เมืองราชคฤห์ นมัสการพระคันธกุฏีที่ประทับจาพรรษาของพระพุทธองค์บนยอดเขาคิชกูฎ
เขาคิชกูฏ คือหนึ่งในเบญจคีรี หรือภูเขา 5 ลูก ได้แก่ เวภาระ เวปุละ คิชฌกูฏ อิศิคิลิ และปัณฑวะ
เขาคิชฌกูฏมีลักษณะเหมือนนกแร้งหรือเป็นที่เกาะอาศัยของฝูงแร้งที่มาคอยกินซากศพโจรที่ถูกประหารและทิ้งลงเหวในบริเวณโดยรอบ เขาคิชกูฏนั้นนับว่าเป็นที่สัปปายะของเหล่าพระอริยสาวกในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนากล่าวว่าเป็นที่จาพรรษาของพระอรหันต์หลายองค์
มูลคันธกุฎี ณ ยอดเขาคิชกูฏ ที่ประทับส่วนพระองค์ของพระบรมศาสดา เป็นกุฎีแคบๆเหมาะที่จะนั่งมากกว่านอน มีขนาดเพียงความกว้าง 3 ศอก 1 คืบ ยาว 4 ศอก เท่านั้น เป็นที่ชาวพุทธให้ความสาคัญพากันมากราบไหว้บูชาเพื่อระลึกถึงพระพุทธองค์ที่เสด็จมาประทับอยู่เสมอ พระองค์ได้ตรัสแสดงธรรมหลายพระสูตร
ถ้าพระโมคคัลลานะ อยู่บนเขาคิชกูฏเป็นที่จาพรรษาของพระอัครสาวกผู้เลิศทางอิทธิฤทธิ์ คือ พระโมคคัล
ลานะและที่แห่งนี้เอง เป็นที่แก้ข้อสงสัยเรื่องเปรตมีจริงหรือไม่มองขึ้นจากทางเดินจุด ที่เป็นถ้าของพระโมคคัลลานะนั้นจะเห็นก้อนหินตั้งเรียงกันสามก้อน มีช่องระหว่างเขาที่พอเดินได้เมื่อก่อนยังไม่ก่อหินกั้นไว้ จะเป็นทางขึ้นลงเพียงทางเดียวเท่านั้น
ถ้าสุกรขาตา อยู่บนเขาคิชกูฏมีลักษณะเหมือนคางหมู ในสมัยพุทธกาลเรียกว่าถ้าคางหมูเป็นสถานที่ซึ่งพระพุทธธรรมโปรด ทีฆนขปริพาชก ผู้เป็นหลานของพระสารีบุตร ในขณะที่พระสารีบุตรกาลังนั่งถวายงานพัดอยู่นั้นท่านก็ได้ฟังธรรม และสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในขณะนั้น เมื่อวันมาฆปุณณมี เพ็ญเดือน 3หลังจากอุปสมบทแล้ว 15 วัน ส่วนทีฆนขปริพาชก ได้บรรลุโสดาปัตติผลประกาศตนเป็นอุบาสกผู้นับถือพระรัตนตรัย ได้เวลาพอสมควรเดินลงจากเขา เดินทางไปวัดไทยสิริราชคฤห์ วัดเวฬุวัน ซึ่งเป็นวัดแห่งแรกของพุทธศาสนาที่พระเจ้าพิมพิสารสร้างอุทิศถวาย เป็นสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ และประชุมพระอริยะสงฆ์ 1,250 รูป ซึ่งมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมายในวันเพ็ญมาฆบูชา สวดมนต์ เจริญสมาธิทาประทักษิณ จากนั้นนาชม ตโปธาราม บ่อน้าโบราณอายุกว่า 2,500 ปี ชมถ้าเก็บมหาสมบัติของพระเจ้าพิมพิสาร ศักดิ์สิทธิ์ ชมมหาวิทยาลัยนาลันทาเก่าซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกที่เคยเจริญรุ่งเรืองมากในอดีต ปัจจุบันคงเหลือเพียงซากปรักหักพัง เนื่องจากถูกรุกรานและทาลายโดยทหารมุสลิม

วันที่สี่

เดินทางต่อไปเมืองไวสาลีเมืองปัฏนะ หรือปาฏลีบุตรในอดีต ปัจจุบันเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐพิหาร สมัยพุทธกาลเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ในแคว้นมคธ ตั้งโดยพระเจ้าอชาตศัตรู
ปาวาลเจดีย์ สถูปโบราณ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เมตร มีสังกะสีมุงเป็นทรงกลม เหมือนกับศาลาแปดเหลี่ยมล้อมรอบฐานเจดีย์โบราณ ได้รับการขุดค้นจากฝ่ายโบราณคดีและยืนยันเป็นหนึ่งเดียวว่านี้คือสถูปที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้ขอแบ่งจากกุสินารา และจากสถูปอีก 7 แห่ง แล้วอัญเชิญมาบรรจุไว้ในสมัยเดียวกันกับเมืองราชคฤห์ของพระเจ้าอชาตศัตรู คณะราชาลิจฉวี ราชามัลละ ราชาโกลิยะแห่งรามคาม พราหมณ์แห่งเวฏฐทีปนคร ราชาโมลีนครราชาศากยะแห่งกบิลพัสดุ์
ป่ามหาวัน สถานที่พระพุทธองค์เสด็จมาประทับทุกครั้งที่มาเมืองไวสาลีและวัดแห่งนี้ยังเป็นที่กาเนิดภิกษุณีเป็นครั้งแรก คือพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระนางมหาปชาบดีและบริวารบวชได้ พระพุทธองค์ทรงแสดงวิธีให้โรคร้ายระงับได้แล้วชาวเมืองไวสาลีประสงค์สร้างอารามถวาย พระพุทธองค์ก็โปรดให้สร้างพระอารามนอกเมืองไวสาลีในป่ามหาวันทางเหนือของอาณาจักรวัชชีอารามที่ชาวลิจฉวีสร้างถวายพระพุทธองค์ในป่ามหาวัน เรียกว่ากูฏาคารมีภิกษุเข้าอยู่จาพรรษาในอารามนี้เป็นประจาสาหรับพระพุทธองค์นั้นประทับอยู่ในพรรษาที่ 5 และพรรษาสุดท้ายคราวเมื่อเสด็จไปกุสินารา
เสาหินพระเจ้าอโศก ในป่ามหาวันที่โดดเด่นสง่างดงามมากหันหน้าไปทางทิศเหนือประหนึ่งว่าทอดอาลัยตามพระพุทธองค์ครั้งเสด็จผ่านเมืองนี้เป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะเสด็จไปปรินิพพาน ณ กุสินารานคร จากนั้นนาท่านไปเมืองเกสปุตตนิคม ซึ่งเป็นเมืองที่ทรงแสดง “กาลามสูตร”
จากนั้นนาท่านเดินทางสู่เมืองกุสินารา สถานที่ปรินิพพาน (ระยะทางประมาณ 340 กม. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง) ระหว่างทางชี้ให้ดูพระมหาสถูปที่เมืองเกสริยา ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นสถูปที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย และเป็นต้นแบบสถูปบุโรพุทโธ ประเทศอินโดนีเซีย

วันที่ห้า

เดินทางไปนมัสการสถานที่เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ณ สถูปสาลวโนทยาน สังเวชนียสถานที่ทาให้เกิดธรรมสังเวช จากนั้นเดินทางไปนมัสการมกุฎพันธนเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระสรีระของพระพุทธเจ้าเดินทางไปสวนลุมพินีวัน สถานที่ประสูติเจ้าชายสิทธัตถะราชกุมารแห่งกรุงกบิลพัสดุ์

วันที่หก

เดินทางไปยังเมืองสาวัตถี หรือ ศราวัสตี เมืองสาวัตถีในสมัยพุทธกาลเป็นเมืองหลวงของแคว้น โกศลมีพระเจ้าปเสนทิโกศลเป็น กษัตริย์ครองเมือง พระพุทธองค์ทรงประทับบาเพ็ญพุทธกิจในเมืองนี้นานถึง 25 พรรษา ได้ทรงแสดงพระสูตร พระวินัย และชาดกที่สาคัญๆ จากนั้น เดินทางไปวัดเชตวันมหาวิหาร ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี เป็นผู้สร้างโดยการจัดหาสถานที่เพื่อจะสร้างวัดถวายพระพุทธเจ้า ท่านเห็นว่าสวนเจ้าเชตกุมารเหมาะสมกว่าที่ อื่นๆ ท่านจึงได้เจรจาขอซื้อสวนนี้ เจ้าเชตได้เสนอราคาที่ดินโดยการให้นาทองคามาปูเรียงจนเต็มบริเวณที่ต้องการซื้อทั้งหมด ท่านให้คนนาเกวียนบรรทุกแผ่นทองคามาเรียงจนเกือบเต็มบริเวณนั้นทั้งหมด เจ้าเชตเห็นถึงศรัทธาที่แน่วแน่ของท่านประสงค์ร่วมทาบุญด้วยจึงมอบที่เหลือนั้นให้แต่ขอให้สร้างซุ้มประตูแทนเมื่อสร้างวัดเสร็จแล้ว ท่านอนาถจึงได้จารึกชื่อเจ้าเชตไว้ที่ซุ้มประตูอันเป็นที่มาของชื่อวัดว่า “เชตวันมหาวิหาร” ท่านอนาถบิณฑกะเศรษฐีได้สร้างวิหาร พร้อมกับห้องพัก กุฏิห้องประชุม โรงครัว เวจกุฎี ห้องน้า บ่อน้าเป็นต้น พระพุทธองค์เสด็จประทับจาพรรษา ณ พระเชตวันแห่งนี้ รวมแล้วถึง 19 พรรษา หลังจากนั้น นมัสการพระคันธกุฎี ชมธรรมสภา กุฏิพระอรหันต์ นมัสการต้นอานันทมหาโพธิ์ที่มีอายุยืนยาวจนกระทั่งปัจจุบัน

วันที่เจ็ด

เดินทางสู่เมืองพาราณสี ซึ่งเป็นเมืองเก่าแก่ กว่า 5,000 ปีสี เดินทางต่อไป เมืองสารนาถประมาณ 12 กิโลเมตร เป็นสถานที่ตั้งป่า อิสิปตนมฤคทายวัน ไปสถานที่พระพุทธ องค์ทรง โปรดปัญจวัคคีย์จนเกิดพระรัตนตรัยขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก และเป็นสถานที่พระพุทธ องค์ทรงอยู่เป็นพรรษาแรก หลังจากตรัสรู้

วันที่แปด

เดินทางไปล่องเรือ ณ แม่น้าคงคา ชมกิจกรรมหลาหลายที่ริมฝั่งแม่น้าคงคา โดยมีชาวฮินดูมาอาบน้าล้างบาป ชมการบูชาพระอาทิตย์ การเผาศพที่ท่ากรรณิการ์ฆาฏ ซึ่งกล่าวกันว่าไฟไม่เคยดับมาเป็นเวลาหลายพันปี เดินทางกลับวัดไทยสารนาท

วันที่เก้า

ออกเดินทางจากวัดป่าพุทธคยา ไปยังเมืองกัลกัตต้า เตรียมตัวเดินทางกลับไทย

Leave a Comment