ประวัติความเป็นมา วัตถุประสงค์ และบทบาทหน้าที่
สถานีวิทยุกระจายเสียงพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (ว.พช.)
1.ประวัติ
การได้มาของสถานีวิทยุพระพุทธศาสนาแห่งชาติคลื่นความถี่ FM 104.25 MHz นี้เป็นการได้มาตามมติของสภาชาวพุทธ รัฐสภาอาคาร 2 เมื่อปี พุทธศักราช 2544 และก่อนหน้านั้น ก็มีมติเหมือนกันที่กรมการศาสนาแต่ไม่มีใครดำเนินการ และก็ไม่มีใครเป็นเจ้าภาพในการก่อสร้าง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ประชุมกันเฉยๆ ว่าจะสร้าง ๆ และต่อมาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พุทธศักราช 2547 ได้มีการจัดทำบุญวิสาขะบูชา ณ ท้องสนามหลวง รัฐบาลห้ามไม่ให้พระพูดเกียวกับธรรมะกับการเมืองโดยสั่งให้ระงับทุกสถานี พระมหาบุญร่วม ปุญญฺมโน จึงระดมทุนจากพุทธศาสนิกชนที่ฟังรายการธรรมะจากสถานีต่างๆ เช่น พล.ม.2 พล.1 สถานี รด. สวนมิสกวันและสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติประเทศไทย เป็นต้น ให้โทรศัพท์เข้ามาแสดงความคิดเห็นว่า “ในเมื่อรัฐบาลไม่ให้พูดก็เท่ากับว่าปิดปากพระปิดหูโยม เราจึงทำสถานีให้พระพุทธศาสนาเอง เห็นด้วยหรือไม่” โดยมีการจัดรายการต่อเนืองกันทั้ง 3 วัน คือ วันที่ 27-29 เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช 2547 ในครั้งนั้น หนึ่งในร้อยสายที่โทรเข้ามาร่วมรายการ มีคุณยุพดี อัจฉรากร เห็นด้วยและคณะก็ได้เปิดรับการบริจาคเพียง 4 วัน ในการร่วมบริจาค มียอดเงินเข้า 350,000 บาท คณะจัดรายการวันนั้นปรึกษากันมีมติให้นำเงินไปฝากไว้ที่บัญชีของศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย เมื่อพร้อมจึงคอยเบิกมาสร้าง ปัจจุบันเงินส่วนนั้นก็ยังอยู่ที่บัญชีของศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ทางคณะได้รับมาเฉพาะเงินบริจาคของ คุณ ยุพดี อัจฉรากร จำนาน 1 ล้านบาท ตามความประสงค์ของเจ้าภาพ เท่านั้นส่วนจำนานเงินเกินในการสร้าง 6 แสนกว่าบาทนั้น พระมหาบุญร่วม ปุญญฺมโน ประธานกองทุนสถานีวิทยุฯ ได้รับบริจาคจากญาติโยมของท่านเพื่อปิดหนี้ที่สร้างเกิน ปัจจุบันนี้สถานีวิทยุฯ มีทรัพย์สินมากกว่า 3 ล้านบาทแล้ว ได้ทำการส่งกระจายเสียงออกอากาศพร้อมเครือข่ายอีก 160 กว่าสถานีทั่วประเทศและทางอินเตอร์เน็ต www.fm10425buddhamonthon.com เพื่อเผยแผ่ไปทั่วโลก ณ บัดนี้ คณะกรรมการบริหารมอบงานให้คณะสงฆ์และทีมงานดำเนินงานการก่อตั้งโดยมี พระมหาบุญร่วม ปุญญฺมโน ดร.สมชายสุรชาตรี ผ.อ.กองพุทธสารนิเทศ และนายอเนก สนามชัย ผ.อ.ศูนย์เทคโนโลยีฯ พศ. พร้อมคณะสงฆ์ที่มีความรู้ทางอิเลคทรอนิกส์, จบคณะนิเทศสาสตร์ และอบรมจากสถาบันการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และสำนักงานพระพุทธมณฑล อนุญาตให้ใช้สถานที่ตั้งสถานีงานก็พัฒนาก้าวหน้ามากขึ้นตามที่พุทธบริษัทคาดหวังไว้ ได้ฟังสถานีวิทยุปัจจุบันนี้การพัฒนาสถานีได้ใช้ชื่อ กองทุนสถานีวิทยุกระจายเสียงพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
เจ้าภาพอุปถัมภ์โดยมีคุณโยมยุพดี–ศิรินันท์ อัจฉรากร ได้บริจาคเป็นจำนายเงิน 1,000,000 บาท เป็นกองทุนเริ่มแรก และคุณพ่อรัน ดาทอง ,พระมหาบุญร่วม ดาทอง ได้ร่วมบริจาคเป็นจำนวนเงิน 250,000 บาท คุณป้าวลัย สรสรรค์ ได้ร่วมบริจาคเป็นจำนวน 100,00 บาท และคุณวิไรจน์ พิทักษ์ธีระธรรม ได้ร่วมบริจาคเป็นจำนวน 150,00 บาท และพุทธบริษัทที่ร่วมเป็นเจ้าภาพอุปถัมภ์ จึงได้เกิดเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงพระพุทธศาสนาแห่งชาติขึ้นได้รับการจัดตั้งเป็นผลสำเร็จและได้ดำเนินการออกอากาศมาตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พุทธศักราช 2547 โดยมีคณะทำงานในการจักตั้งตามคำสั่งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่285/2547 ลงวันที่ 23 เดือนกันยายน พุทธศักราช 2547 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้ มูลนิธิเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางมวลชนและมูลนิธิสื่อโลกพุทธธรรมพระโสณะ-อุตตระ ร่วมกับ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นเจ้าของร่วมมันเพื่อการบริหารงานเผยแผ่แบบมีส่วนร่วมทั้งฝ่ายพระภิกษุสงฆ์และฝ่ายฆราวาส และเพื่อให้การบริหารจัดการก้าวหน้าต่อไปในอนาคต ในยุคข้อมูลข่าวสารไร่พรมแดน
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นสำนักงานที่เกิดขึ้นจากการปฏิรูประบบราชการ กระทรง ทบวงกรม ตามสถานการณ์พร้อมด้วยคณะพุทธบริษัทและรัฐบาล มีความประสงค์ให้เกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 20 กันยายน 2545 มีความสำคัญยิ่งของพระพุทธศาสนา ปัจจุบันนี้มีกิจกรรมทางพระพุทธศาสนามากมาย แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับของสาธารณะชนทั่วไป ดังนั้นสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จึงนำหลักทางสัจธรรมทางพระพุทธศาสนา รวมทั่งข้อมูลข่าวสารทางพระพุทธศาสนา เช่นการปฏิบัติธรรม การเทศน์ การประชุมสัมมนาของสำนักพุทธฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการเผยแผ่หลังธรรมในพระพุทธศาสนา การเทศน์ที่วัดมีประชาชนฟัง 1-500 คน สถานีวิทยุมีผู้ฟังประมาณ 1-10,000 คน และสถานีวิทยุโทรทัศน์ซึ่งมีผู้ดูถึง 1,000,000 คน จึงได้จัดสร้างสถานีวิทยุกระจายเสียงพระพุทธศาสนาแห่งชาติขึ้น ทั้งนี้เพื่อสอดคล้องตามหลักรัฐธรรมนูญมาตรา 40 พุทธศักราช 2540 บัญญัติให้คลื่นวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์เป็นสมบัติของสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของส่วนร่วม ส่วนใหญ่แล้ววิทยุที่มีอยู่ได้ถูกขายสิทธิ์ไปให้นายทุน จนแทบไม่มีสาระธรรมเหลืออยู่ นอกจากนี้ยังยึดครองโดยกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง หรือของธุรกิจอาจผิดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ สื่อวิทยุเป็นสื่อที่มีความเหมาะสมกับชุมชน เพราะชุมชนสามารถรับฟังข่าวสารได้ทุกแห่ง แม้แต่ขณะทำงานตามหัวไร่ ปลายนา ราค่าเครื่องวิทยุไม่แพง รวดเร็วทันเหตุการณ์ และลงทุนในการกระจายเสียงน้อยเมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆ ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะให้การศึกษาศีลธรรมและคุณธรรม ให้เกิดขึ้นกับพุทธบริษัท เพื่อนำมาซึ่งความเข้าใจอย่างถูกต้องในหลักธรรม เพื่อนำเยาวชนออกห่างจากยาเสพติดประเภทต่างๆ ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและมูลนิธิเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางสื่อมวลชน ยังเป็นสื่อให้กับหน่วยงานของรัฐและเอกชนตลอดถึงคณะกรรมการมหาเถรสมาคมในการเผยแผ่ข่าวสาร ที่เป็นประโยชน์ให้กับชุมชนและประเทศชาติอีกด้วย ปัจจุบันที่รับเป็นเครือข่ายสถานีวิทยุทั้งหมด 160 กว่าสถานี ออกอากาศรับสัญญาณทางอินเตอร์เน็ตได้ 93 สถานี
2.วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อเป็นสื่อให้สถาบันพระสงฆ์และอุบายสกอุบาสิกาผู้ทรงคุณวุฒิ ทางพระพุทธศาสนาทั่วประเทศ เป็นเวทีในการประชาสัมพันธ์ เผยแผ่พระพุทธศาสนาและกิจกรรมต่างๆ เช่น การฝึกอบรมเข้าค่าย การปฏิบัติธรรมเพื่อพัฒนาศีลธรรมและคุณธรรมแก่นักเรียน และเยาวชนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาต่อชุมชนของชาติ
2.2 เพื่อเผยแผ่กิจกรรมของมหาเถรสมาคมและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติแก่สาธารณชน
2.3 เพื่อปลุกจิตสำนึกให้ท้องถิ่นมีการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.4 เพื่อเป็นสถานีแม่ขาย ถ่ายทอดสัญญาณ การบรรยาย อภิปรายธรรมะ สู่สถานีวิทยุที่เป็นเครือข่ายของสถานีวิทยุกระจายเสียงพระพุทธศาสนาแห่งชาติทั่วประเทศและทั่วโลก
2.5 เพื่อร่วมมือเผยแผ่ข่าวสารเกี่ยวกับกรณียกิจสถาบัน พระมหากษัตริย์
2.6 เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พุทธธรรมสู่สื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และทางอินเตอร์เน็ต ทำให้ประชาชน รักเคารพ ห่วงแหนและช่วยกันปกปักษ์รักษาในสถาบัน ชาติ พระพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์ให้สถิตสถาพรสืบไป
2.7 เพื่อร่วมเผยแผ่ข่าวสารและกิจการรัฐบาลถึงส่วนราชการและองค์กรท้องถิ่นสาธรณชน
3.บทบาทและภาระหน้าที่สถานีวิทยุกระจายเสียงพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
3.1 เผยแผ่และส่งเสริมกิจกรรมพระพุทธศาสนาและความรู้เกี่ยวกับหลักธรรมในพระไตรปิฎก และธรรมบรรยายจากพระมหาเถรานุเถระ และอุบาสกอุบาสิกาทางสื่อมวลชน
3.2 เป็นแม่ข่ายประชาสัมพันธ์การเผยแผ่เพื่อส่งเสริมความเห็นถูกต้องตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
3.3 ดำเนินการเผยแผ่ทั้งภายในและภายนอกประเทศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์และทางอินเตอร์เน็ต
3.4 สนับสนุนให้ความช่วยเหลือทางวิชาการเกี่ยวกับการเรียนการสอนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางสื่อมวลชน
3.5 ศึกษา สำรวจ วิจัย และตรวจสอบประชามติ เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงนโยบายและแผ่นงานการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางสื่อมวลชน
3.6 พัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
3.7 ผลิตรายการ เผยแผ่สื่อธรรมะ และบริการเอกสารหลักธรรม
3.8 ปฏิบัติการอื่นใดก็ตามที่ ระเบียบกำหนด ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของมหาเถรสมาคมและคณะสงฆ์คณะกรรมการบริหาร สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์มอบหมาย
4.วิสัยทัศน์และพันธกิจ
วิสัยทัศน์ สถานีวิทยุกระจายเสียงพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จะเป็นองค์กรหลักด้านการประชาสัมพันธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาและเป็นศูนย์กลางข่าวสารทางสื่อมวลชนของพุทธบริษัท เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสรับรู้ เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาศีลธรรมคุณธรรม มีส่วนร่วมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพื่อสร้างความเข้มแข็งของพุทธบริษัท
พันธกิจหรือภารกิจหลักของสถานีวิทยุกระจายเสียงพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีดังนี้
- พันธกิจหลักภารกิจหลักคือ ตามพระพุทธดำรัสที่ตรัสเมื่อครั้งทรงส่งพระอรหันต์ 60 รูปไปเผยแพร่พระศาสนาครั้งแรก
- เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาทางสื่อมวลชน เพื่อให้การดำเนินงานการเผยแผ่เป็นไปอย่างมีระบบโดยการเสนอแนะนโยบาย ด้านการเผยแผ่ทางสื่อมวลชน
- ดำเนินการเผยแผ่เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสรับรู้ เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถใช้ข้อมูลข่าวสารของคณะสงฆ์ในการพัฒนาศีลธรรมมีส่วนร่วมในการพัฒนาสื่อมวลชนทางพระพุทธศาสนารวมทั้งเกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อพระพุทธศาสนา
- ประเด็นยุทธศาสตร์
1.การประชาสัมพันธ์และการเผยแผ่เสริมสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน และประชาคมโลกในยุทธศาสตร์ชาติตามนโยบายสำคัญทางมหาเถรสมาคมและพุทธบริษัท
2.การเพิ่มโอกาสของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาให้มากขึ้น
3.การเพิ่มประสิทธิ์ภาพการบริหารจัดการ องค์กรสู่ความเป็นสถาบันมืออาชีพ ด้านสื่อมวลชน และการเผยแผ่หลักธรรมในพระไตรปิฎกและธรรมะจากพระอาจารย์ต่าง ๆ
==================================