มังคะละสุตตัง
เอวัมเม สุตังฯเอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิ ยัง วิหะระติเชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ อะถะโขอัญญะตะรา เทวะตา อะภิกกันตายะ รัตติยา อะภิกกันตะวัณณา เกวะละกัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตวา เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ อุปะสังกะมิตวา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา เอกะมันตัง อัฏฐาสิฯ เอกะมันตังฐิตาโข สาเทวะตา ภะคะวนตั ังคาถายะอัชฌะภาสิฯ หยุด
อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา
ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา
อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต
สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะทารัสสะ สังคะโห
อะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ ญาตะกานัญจะ สังคะโห
อะนะวัชชานิ กัมมานิ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
อาระตี วิระตี ปาปา มัชชะปานา จะ สัญญะโม
อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
คาระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา
กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
ขันตี จะ โสวะจัสสะตา สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง
กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
ตะโป จะ พ๎รัห๎มะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง
นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ
อะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
เอตาทิสานิ กัต๎วานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา
สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ ฯ
คำแปล มงคลสูตร
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแสดงมงคลอันสูงสุด ดังต่อไปนี้
๑. การไม่คบคนพาล การคยแต่ยัณฑิต การบูชาบุคคลผู้ควรบูชา ทั้ง ๓ ประการนี้เป็นมงคลอันสูงสุด ฯ
๒. การอยู่ในสถานที่อันสมควร ความเป็นคนผู้มีบุญอันได้กระทำไว้แต่กาลก่อนการตั้งตนไว้โดยชอบตามทำนองคลองธรรม ทั้ง ๓ ประการนี้ ก็เป็นมงคลอันสูงสุด ฯ
๓. ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังธรรมและปฏิบัติธรรมมาก ความเป็นผู้มีศิลปวิทยา ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนและปฏิบัติในระเบียบวินัยเป็นอันดี การกล่าววาจาที่เป็นธรรมและไพเราะ แม้ทั้ง ๔ ประการนี้ก็เป็นมงคลอันสูงสุด
๔. การอุปัฎฐากบำรุงบิดามารดาให้มีสุข การสงเคราะห์บุตรและภรรยาให้มีสุข การทำการงานให้เสร็จเรียบร้อยไม่คั่งค้าง ทั้ง ๓ ประการนี้ ก็เป็นมงคลอันสูงสุด ฯ
๕. การให้ทาน การประพฤิตธรรม การสงเคราะห์ญาติและคนใกล้ชิดทั้งหลาย การทำการงานที่ไม่ประกอบด้วยโทษทั้งทางโลกและทางธรรม แม้ทั้ง ๔ ประการนี้ ก็เป็นมงคลอันสูงสุด ฯ
๖. การงดเว้นจากการทำบาปทั้งหลาย การงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ทั้ง ๓ ประการนี้ ก็เป็นมงคลอันสูงสุด ฯ
๗. การเคารพต่อบุคคลและสิ่งที่ควรเคารพ ความไม่เย่อหยิ่งจองหอง ความสันโดษยินดีในสิ่งที่ตนมีอยู่ และสิ่งที่ตนถึงหาได้โดยชอบธรรม ความเป็นผู้มีกตัญญูรู้คุณที่ท่านได้ทำไว้แล้วแก่ตน การได้ฟังธรรมคำสอนของสัตบุรุษตามกาลเวลาอันสมควร แม้ทั้ง ๕ ประการนี้ ก็เป็นมงคลอันสูงสุด ฯ
๘. ความเป็นผู้มีขันติความอดทน ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย การได้เห็นสมณพราหมณ์ผู้ทรงศีลทั้งหลาย การได้เจรจาสนทนาธรรมตามกาลเวลาอันสมควร ทั้ง ๔ ประการนี้ ก็เป็นมงคลอันสูงสุด ฯ
๙. การมีความเพียรเพื่อเผากิเลส การประพฤติพรหมจรรย์คือปฏิบัติตนให้เป็นผู้ประเสริฐ การมีปัญญาเห็นอริยสัจทั้งหลาย การทำมห้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ทั้ง ๔ ประการนี้ ก็เป็นมงคลอันสูงสุด ฯ
๑๐. การทำจิตไม่ให้หวั่นไหวในโลกธรรมที่มากระทบ การไม่ทำใจให้เศร้าโศก การทำจิตให้ปราศจากธุลี คือกิเลสทั้งหลาย การทำจิตให้ถึงพระนิพพาน อันเป็นแดนอันพ้นจากภัยทั้งหลาย ทั้ง ๔ ประการนี้ ก็เป็นมงคลอันสูงสุด ฯ
๑๑. อนึ่ง เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อได้กระทำมงคลทั้งหลายเช่นนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง และย่อยถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง ทั้งหมดนั้นเป็นมงคลอันสูงสุด ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นแล ฯ