สถานีวิทยุพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (ว.พ.ช.) คลื่น FM 104.25
โทรศัพท์ ๐๒-๔๐๘-๖๔๗๐, ๐๘๙-๖๖๘-๑๐๔๗
อีเมล์ boonroumradio@gmail.com

ทำวัตรเย็น

ทำวัตรเย็น

คำบูชาพระรัตนตรัย

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ใด, เป็นพระอรหันต์,
ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ส๎วากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม, 
พระธรรม เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด, ตรัสไว้ดีแล้ว
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด, ปฏิบัติดีแล้ว
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง,
อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ,
ข้าพเจ้าทั้งหลาย, ขอบูชาอย่างยิ่งซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์,
ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้, อันยกขึ้นตามสมควรแล้วอย่างไร

สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ,
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ, พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพานนานแล้ว, ทรงสร้างคุณอันสำเร็จประโยชน์ไว้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย.
ปัจฉิมาชะนะตานุกัมปะมานะสา,
ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้า อันเป็นชนรุ่นหลัง
อิเม สักกาเร ทุคคะตะปัณณาการะภูเต ปะฏิคคัณหาตุ,
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงรับเครื่องสักการะ อันเป็นบรรณาการของคนยากทั้งหลายเหล่านี้
อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ,
เพื่อประโยชน์และความสุขแก่พวกข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญฯ

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา,
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ,
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)
ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, 
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว
ธัมมัง นะมัสสามิ 
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว
สังฆัง นะมามิ. 
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)

ปุพพภาคนมการ

(หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปุพพะภาคะนะมะการัง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความนอบน้อมอันเป็นส่วนเบื้องต้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
อะระหะโต, ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทธัสสะ. ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.
(กล่าว ๓ ครั้ง)

พุทธานุสสติ
(หันทะ มะยัง พุทธานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความตามระลึกถึงพระพุทธเจ้าเถิด

ตัง โข ปะนะ ภะคะวันตัง เอวัง กัล๎ยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคะโต,
ก็กิตติศัพท์อันงามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ได้ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า:-
อิติปิ โส ภะคะวา, เพราะเหตุอย่างนี้ๆ, พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
อะระหัง, เป็นผู้ไกลจากกิเลส
สัมมาสัมพุทโธ, เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
วิชชาจะระณะสัมปันโน, เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
สุคะโต, เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี
โลกะวิทู, เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ, เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
สัตถา เทวะมะนุสสานัง, เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
พุทโธ, เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
ภะคะวา ติ. เป็นผู้มีความจำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์, ดังนี้

พุทธาภิคีติ
(หันทะ มะยัง พุทธาภิคีติง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความขับคาถา พรรณนาเฉพาะพระพุทธเจ้าเถิด

พุทธ๎ะวาระหันตะวะระตาทิคุณาภิยุตโต,
พระพุทธเจ้าประกอบด้วยคุณ, มีความประเสริฐแห่งอรหันตคุณเป็นต้น
สุทธาภิญาณะกะรุณาหิ สะมาคะตัตโต,
มีพระองค์อันประกอบด้วยพระญาณ, และพระกรุณาอันบริสุทธิ์
โพเธสิ โย สุชะนะตัง กะมะลังวะ สูโร,
พระองค์ใดทรงกระทำชนที่ดีให้เบิกบาน, ดุจอาทิตย์ทำบัวให้บาน
วันทามะหัง ตะมะระณัง สิระสา ชิเนนทัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระชินสีห์ผู้ไม่มีกิเลสพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า
พุทโธ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระพุทธเจ้าพระองค์ใดเป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย
ปะฐะมานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่หนึ่ง ด้วยเศียรเกล้า
พุทธัสสาหัส๎มิ ทาโสวะ (ทาสีวะ), คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า
พุทโธ เม สามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้าเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า,
พุทโธ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกำจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า
พุทธัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระพุทธเจ้า
วันทันโตหัง (วันทันตีหัง) คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า จะริสสามิ,
พุทธัสเสวะ สุโพธิตัง,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม, ซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้า
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, พุทโธ เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระพุทธเจ้าเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา
พุทธัง เม วันทะมาเนนะ (วันทะมานายะ), คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า
ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระพุทธเจ้า, ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้
สัพเพปิ อันตะรายา เม, มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.
อันตรายทั้งปวงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดชแห่งบุญนั้น

(หมอบกราบ)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี
พุทเธ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้ว ในพระพุทธเจ้า
พุทโธ ปะฏิคคัณ๎หะตุ อัจจะยันตัง,
ขอพระพุทธเจ้าจงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ พุทเธ.
เพื่อการสำรวมระวัง ในพระพุทธเจ้า ในกาลต่อไป.

ธัมมานุสสติ
(หันทะ มะยัง ธัมมานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความตามระลึกถึงพระธรรมเถิด

ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
สันทิฏฐิโก, เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
อะกาลิโก, เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล
เอหิปัสสิโก, เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
โอปะนะยิโก, เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหี ติ. เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน, ดังนี้.

ธัมมาภิคีติ

(หันทะ มะยัง ธัมมาภิคีติง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความขับคาถา พรรณนาเฉพาะพระธรรมเถิด

ส๎วากขาตะตาทิคุณะโยคะวะเสนะ เสยโย,
พระธรรมเป็นสิ่งที่ประเสริฐเพราะประกอบด้วยคุณ, คือความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วเป็นต้น
โย มัคคะปากะปะริยัตติวิโมกขะเภโท,
เป็นธรรมอันจำแนกเป็นมรรคผลปริยัติและนิพพาน
ธัมโม กุโลกะปะตะนา ตะทะธาริธารี,
เป็นธรรมทรงไว้ซึ่งผู้ทรงธรรม จากการตกไปสู่โลกที่ชั่ว
วันทามะหัง ตะมะหะรัง วะระธัมมะเมตัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมอันประเสริฐนั้น อันเป็นเครื่องขจัดเสียซึ่งความมืด
ธัมโม โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระธรรมใดเป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย
ทุติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้นอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สองด้วยเศียรเกล้า
ธัมมัสสาหัส๎มิ ทาโสวะ (ทาสีวะ), คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า
ธัมโม เม สามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม, พระธรรมเป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า
ธัมโม ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระธรรมเป็นเครื่องกำจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า
ธัมมัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระธรรม
วันทันโตหัง (วันทันตีหัง) คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า จะริสสามิ, 
ธัมมัสเสวะ สุธัมมะตัง,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม, ซึ่งความเป็นธรรมดีของพระธรรม
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, ธัมโม เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระธรรมเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ, วัฑเฒยยัง สัตถุสาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา
ธัมมัง เม วันทะมาเนนะ (วันทะมานายะ), คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า
ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระธรรม, ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้
สัพเพปิ อันตะรายา เม, มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.
อันตรายทั้งปวงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดชแห่งบุญนั้น.

(หมอบกราบ)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา, 
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี
ธัมเม กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
กรรมน่าติเตียนอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วในพระธรรม
ธัมโม ปะฏิคคัณ๎หะตุ อัจจะยันตัง, 
ขอพระธรรมจงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ ธัมเม.
เพื่อการสำรวมระวังในพระธรรมในกาลต่อไป

สังฆานุสสติ

(หันทะ มะยัง สังฆานุสสะตินะยัง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความตามระลึกถึงพระสงฆ์เถิด

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด,
ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทิทัง, ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ :-
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, 
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, 
นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะ ที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโย, เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโย, เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลิกะระณีโย, เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสา ติ. เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.

สังฆาภิคีติ

(หันทะ มะยัง สังฆาภิคีติง กะโรมะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย ทำความขับคาถา พรรณนาเฉพาะพระสงฆ์เถิด

สัทธัมมะโช สุปะฏิปัตติคุณาทิยุตโต,
พระสงฆ์ที่เกิดโดยพระสัทธรรม, ประกอบด้วยคุณมีความปฏิบัติดีเป็นต้น
โยฏฐัพพิโธ อะริยะปุคคะละสังฆะเสฏโฐ,
เป็นหมู่แห่งพระอริยบุคคลอันประเสริฐแปดจำพวก
สีลาทิธัมมะปะวะราสะยะกายะจิตโต,
มีกายและจิตอันอาศัยธรรมมีศีลเป็นต้นอันบวร
วันทามะหัง ตะมะริยานะ คะณัง สุสุทธัง,
ข้าพเจ้าไหว้หมู่แห่งพระอริยเจ้าเหล่านั้น อันบริสุทธิ์ด้วยดี
สังโฆ โย สัพพะปาณีนัง สะระณัง เขมะมุตตะมัง,
พระสงฆ์หมู่ใดเป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย
ตะติยานุสสะติฏฐานัง วันทามิ ตัง สิเรนะหัง,
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สาม ด้วยเศียรเกล้า
สังฆัสสาหัส๎มิ ทาโสวะ (ทาสีวะ), คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า
สังโฆ เม สามิกิสสะโร,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระสงฆ์, พระสงฆ์เป็นนายมีอิสระเหนือข้าพเจ้า
สังโฆ ทุกขัสสะ ฆาตา จะ วิธาตา จะ หิตัสสะ เม,
พระสงฆ์เป็นเครื่องกำจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า
สังฆัสสาหัง นิยยาเทมิ สะรีรัญชีวิตัญจิทัง,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระสงฆ์
วันทันโตหัง (วันทันตีหัง) คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า จะริสสามิ, 
สังฆัสโสปะฏิปันนะตัง,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม, ซึ่งความปฏิบัติดีของพระสงฆ์
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง, สังโฆ เม สะระณัง วะรัง,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี, พระสงฆ์เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ, วัฑเฒยยัง สัตถุ สาสะเน,
ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนาของพระศาสดา
สังฆัง เม วันทะมาเนนะ (วันทะมานายะ), คำในวงเล็บสำหรับผู้หญิงว่า
ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระสงฆ์, ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้
สัพเพปิ อันตะรายา เม, มาเหสุง ตัสสะ เตชะสา.
อันตรายทั้งปวงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดชแห่งบุญนั้น.

(หมอบกราบ)
กาเยนะ วาจายะ วะ เจตะสา วา,
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี
สังเฆ กุกัมมัง ปะกะตัง มะยา ยัง,
กรรมน่าติเตียนอันใดที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้วในพระสงฆ์
สังโฆ ปะฏิคคัณ๎หะตุ อัจจะยันตัง, 
ขอพระสงฆ์ จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น
กาลันตะเร สังวะริตุง วะ สังเฆ. 
เพื่อการสำรวมระวัง ในพระสงฆ์ในกาลต่อไป

บทสวดมนต์แปล อตีตปัจจเวกขณปาฐะ

(ผู้นำ) หันทะ มะยัง อะตีตะปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส.

(ข้อว่าด้วยจีวร)

อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิต๎วา ยัง จีวะรัง ปะริภุตตัง,
จีวรใด อันเรานุ่งห่มแล้ว, ไม่ทันพิจารณาในวันนี้,

ตัง ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ,
จีวรนั้น เรานุ่งห่มแล้ว, เพียงเพื่อบำบัดความหนาว,

อุณ๎หัสสะ ปฏิฆาตายะ,
เพื่อบำบัดความร้อน,

ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ,
เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ ยุง ลม แดด,
และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย,

ยาวะเทวะ หิริโกปินะปะฏิจฉาทะนัตถัง,
และเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะ, อันให้เกิดความละอาย.

(ข้อว่าด้วยบิณฑบาต)

อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิต๎วา โย ปิณฑะปาโต ปะริภุตโต,
บิณฑบาตใด อันเราฉันแล้ว, ไม่ทันพิจารณาในวันนี้,

โส เนวะ ทะวายะ,
บิณฑบาตนั้น เราฉันแล้ว,
ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน,

นะ มะทายะ,
ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความเมามัน, เกิดกำลังพลังทางกาย,

นะ มัณฑะนายะ,
ไม่ใช่เป็นไปเพื่อประดับ,

นะ วิภูสะนายะ,
ไม่ใช่เป็นไปเพื่อตกแต่ง,

ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา,
แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้,

ยาปะนายะ,
เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ,

วิหิงสุปะระติยา,
เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย,

พ๎รัห๎มะจะริยานุคคะหายะ,
เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์,

อิติ ปุราณัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ,
ด้วยการกระทำอย่างนี้,
เราย่อมระงับเสียได้ซึ่งทุกขเวทนาเก่า, คือ ความหิว,

นะวัญจะ เวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ,
และไม่ทำทุกขเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น,

ยาต๎รา จะ เม ภะวิสสะติ, อะนะวัชชะตา จะ ผาสุวิหาโร จาติ,
อนึ่ง ความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้ด้วย, ความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วย,
และความเป็นอยู่โดยผาสุกด้วย, จักมีแก่เรา, ดังนี้.

(ข้อว่าด้วยเสนาสนะ)

อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิต๎วา ยัง เสนาสะนัง ปะริภุตตัง,
เสนาสนะใด อันเราใช้สอยแล้ว, ไม่ทันพิจารณาในวันนี้,

ตัง ยาวะเทวะ สีตัสสะ ปะฏิฆาตายะ,
เสนาสนะนั้น เราใช้สอยแล้ว, เพียงเพื่อบำบัดความหนาว,

อุณ๎หัสสะ ปะฏิฆาตายะ,
เพื่อบำบัดความร้อน,

ฑังสะมะกะสะวาตาตะปะสิริงสะปะสัมผัสสานัง ปะฏิฆาตายะ,
เพื่อบำบัดสัมผัสอันเกิดจาก เหลือบ ยุง ลม แดด,
และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย,

ยาวะเทวะ อุตุปะริสสะยะวิโนทะนัง ปะฏิสัลลานารามัตถัง,
เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายอันจะพึงมีจากดินฟ้าอากาศ,
และเพื่อความเป็นผู้ยินดีอยู่ได้, ในที่หลีกเร้นสำหรับภาวนา,

(ข้อว่าด้วยคิลานเภสัช)

อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิต๎วา โย คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขาโร ปะริภุตโต,
คิลานเภสัชบริขารใด อันเราบริโภคแล้ว, ไม่ทันพิจารณาในวันนี้,

โส ยาวะเทวะ อุปปันนานัง เวยยาพาธิกานัง เวทะนานัง ปะฏิฆาตายะ,
คิลานเภสัชบริขารนั้น เราบริโภคแล้ว, เพียงเพื่อบำบัดทุกขเวทนา
อันบังเกิดขึ้นแล้ว, มีอาพาธต่าง ๆ เป็นมูล,

อัพ๎ยาปัชฌะปะระมะตายาติ,
เพื่อความเป็นผู้ไม่มีโรคเบียดเบียน เป็นอย่างยิ่ง, ดังนี้.

อุททิสสนาธิฏฐานคาถา

(หันทะ มะยัง อุททิสสะนาธิฏฐานะคาถาโย ภะณามะ เส)
เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงสวดคาถาอุทิศและอธิษฐานเถิด

อิมินา ปุญญะกัมเมนะ ด้วยบุญนี้อุทิศให้
อุปัชฌายา คุณุตตะรา อุปัชฌาย์ผู้เลิศคุณ
อาจะริยูปะการา จะ แลอาจารย์ผู้เกื้อหนุน
มาตา ปิตา จะ ญาตะกา ทั้งพ่อแม่แลปวงญาติ
สุริโย จันทิมา ราชา สูรย์จันทร์และราชา
คุณะวันตา นะราปิ จะ ผู้ทรงคุณหรือสูงชาติ
พ๎รัห๎มะมารา จะ อินทา จะ พรหมมารและอินทราช
โลกะปาลา จะ เทวะตา ทั้งทวยเทพและโลกบาล
ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ ยมราชมนุษย์มิตร
มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ ผู้เป็นกลางผู้จองผลาญ
สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ ขอให้เป็นสุขศานติ์ทุกทั่วหน้าอย่าทุกข์ทน
ปุญญานิ ปะกะตานิ เม บุญผองที่ข้าทำจงช่วยอำนวยศุภผล
สุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ ให้สุขสามอย่างล้น
ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง ให้ลุถึงนิพพานพลัน
อิมินา ปุญญะกัมเมนะ ด้วยบุญนี้ที่เราทำ
อิมินา อุททิเสนะ จะ แลอุทิศให้ปวงสัตว์
ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ เราพลันได้ซึ่งการตัด
ตัณหุปาทานะเฉทะนัง ตัวตัณหาอุปาทาน
เย สันตาเน หินา ธัมมา สิ่งชั่วในดวงใจ
ยาวะ นิพพานะโต มะมัง กว่าเราจะถึงนิพพาน
นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ มลายสิ้นจากสันดาน
ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว ทุกๆ ภพที่เราเกิด
อุชุจิตตัง สะติปัญญา มีจิตตรงและสติทั้งปัญญาอันประเสริฐ
สัลเลโข วิริยัมหินา พร้อมทั้งความเพียรเลิศเป็นเครื่องขูดกิเลสหาย
มารา ละภันตุ โนกาสัง โอกาสอย่าพึงมีแก่หมู่มารสิ้นทั้งหลาย
กาตุญจะ วิริเยสุ เม เป็นช่องประทุษร้ายทำลายล้างความเพียรจม
พุทธาธิปะวะโร นาโถ พระพุทธผู้บวรนาถ
ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม พระธรรมที่พึ่งอุดม
นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ พระปัจเจกะพุทธสม
สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง ทบพระสงฆ์ที่พึ่งผยอง
เตโสตตะมานุภาเวนะ ด้วยอานุภาพนั้น
มาโรกาสัง ละภันตุ มา ขอหมู่มาร อย่าได้ช่อง
ทะสะปุญญานุภาเวนะ ด้วยเดชบุญทั้งสิบป้อง
มาโรกาสัง ละภันตุ มา อย่าเปิดโอกาสแก่มาร เทอญ

” อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ          โก หิ นาโถ ปโร สิยา อตฺตนา หิ สุทนฺเตน               นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ. “

      ตนแล เป็นที่พึ่งของตน คนอื่น ใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้ ก็บุคคล
      มีตนฝึกฝนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้ยาก.

     

(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๓๖.