“บุญกฐินประจำปี”
บุญกฐินคือ บุญที่เรียกว่า “กาลทาน” นี้มีกําหนดให้ทําได้เฉพาะใน ช่วงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึง 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุก ปี จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “บุญ เดือน 12” ชาวอีสานเชื่อว่าผู้ใดได้ ทําบุญกฐินจะไม่ตกนรกและจะได้รับผลบุญที่ทําในชาตินี้ไว้เก็บกินในชาติหน้า งานบุญกฐินจึงจัดเป็นงานสําคัญ ในส่วน พิธีกรรมนั้นคล้ายคลึงกับภาคกลางแต่ที่ชาวอีสานและเครื่องบริวารกฐิน ซึ่งส่วนมากจะเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนมาตั้งวางไว้ในที่เปิดเผยเพื่อให้ญาติพี่น้อง หรือชาวบ้าน ใกล้เคียงนําสิ่งของ เช่น เสื่อ หมอน อาสนสงฆ์ ฯลฯ มาร่วมสบทบ ตอนเย็นของวันรวมก็จะนิมนต์ พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ตอนกลางคืน อาจจัดให้มีมหรสพต่างๆ และที่ขาดไม่ได้ในงานบุญ กฐินก็คือ ต้องจุด “บั้งไฟพลุ” อย่างน้อยจํานวน 4 บั้ง เอาไว้จุดเมื่อตอนหัวค่ำหนึ่งลูก ตอนดึกหนึ่งลูก ตอนใกล้สว่างหนึ่งลูก และตอนถวายกฐินอีกหนึ่งลูก นอกจากจุดบั้งไฟพลุแล้วก็จะจุดบั้งไฟตะไลเป็นระยะ ๆ ในขณะที่แห่กฐินรุ่งเช้าเป็นขบวนแห่กฐินจาก บ้านไปถวายพระสงฆ์ที่วัด เมื่อถึงวัดต้องแห่เครื่องกฐินเวียนขวาสามรอบ รอบศาลาโรงธรรม จากนั้นจึงนําเครื่องกฐินขึ้นตั้งบนศาลาโรงแรม นําข้าวปลา อาหารถวายพระ ถ้าถวายตอนเช้าก็เลี้ยงพระตอนฉันจังหัน แต่ถ้าถวายตอนบ่ายก็จะเลี้ยงพระตอนเพล เมื่อพระสงฆ์สามเณรฉันเสร็จแล้วผู้เป็นเจ้าภาพ องค์กฐินจะจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย นํารับศีลแล้วกล่าวคําถวายกฐินเป็นเสร็จพิธี ส่วนพระสงฆ์เมื่อมีกฐินมาทอดที่วัดก็จะประชุมสงฆ์แล้วให้ภิกษุรูป หนึ่งเสนอต่อที่ประชุมสงฆ์ว่าควรให้แก่ภิกษุ (เอ่ยนามภิกษุ) ที่สมควรจะได้รับกฐิน ส่วนมากก็เป็นเจ้าอาวาสวัดนั้นๆ เมื่อที่ประชุมสงฆ์เห็นชอบตามที่มีผู้เสนอ ก็จะเปล่งคําว่า “สาธุ” พร้อมกันจากนั้นญาติโยมก็จะพากันถวายเครื่องปัจจัยไทยทานแด่ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ทั้งวัด พระสงฆ์รับแล้วจะอนุโมทนาและให้พรเป็น เสร็จพิธี
ประวัติความเป็นมาของการทอดกฐิน
ในสมัยพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เห็นภิกษุชาวเมืองปาฐา 30 รูปที่เดินทางมาเข้าเฝ้าพระองค์หลังออกพรรษาแล้ว ณ เชตุวันวนาราม กรุงสาวัตถี ล้วนครองจีวรที่เก่าและขาด จึงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุทั้งหลายรับผ้ากฐินได้ในช่วงหลังจากออกพรรษาไปแล้วหนึ่งเดือน คือตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี ตั้งแต่นั้นมาตราบจนทุกวันนี้
การทอดกฐิน เป็นการทำบุญที่แปลกกว่าการทำบุญอื่น เนื่องจาก
1. การทอดกฐินจำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานอย่างเดียวเท่านั้น คือ จะเจาะจงถวายพระรูปใดรูปหนึ่งไม่ได้ กฐินจึงเป็นของกลางในหมู่สงฆ์ ซึ่งจะมีมติสงฆ์ให้พระที่อยู่พรรษาครบ 3 เดือน และเป็นผู้ที่ฉลาดในพระธรรมวินัย ประพฤติปฏิบัติดี และมีความเพียรอย่างต่อเนื่อง เป็นผู้ครองผ้ากฐิน
2. การทอดกฐินจำกัดเวลา คือ ต้องถวายในเวลา 1 เดือน ตั้งแต่ออกพรรษา
3. การทอดกฐินจำกัดงาน คือ พระที่รับ ต้องตัดเย็บและครองให้เสร็จภายในวันนั้น
4. การทอดกฐินจำกัดของถวาย คือ หมายถึงองค์กฐิน คือผ้าที่จะตัดเย็บเป็นจีวรหรือวัสดุในการผลิตเป็นผ้า ส่วนสิ่งอื่นนอกจากนี้เรียกว่า บริวารกฐิน
5. การทอดกฐินจำกัดผู้รับ คือ ผู้รับจะต้องเป็นพระที่จำพรรษาวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษาและวัดนั้นจะต้องมีภิกษุไม่น้อยกว่า 5 รูป และต้องรับกฐินโดยพร้อมเพรียงกัน
6. การทอดกฐินจำกัดคราว คือ วัดหนึ่งจะรับกฐินได้ปีละ 1 ครั้งเท่านั้น
อานิสงส์ของการร่วมทำบุญทอดกฐินยังมีอีกมากมาย
1. ทำให้เป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์สินมาก และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้โดยง่าย
2. ทำให้เป็นผู้มีจิตใจแช่มชื่น บริสุทธิ์และผ่องใสอยู่เสมอ
3. ทำให้เป็นผู้มีจิตใจตั้งมั่น เป็นสมาธิและเข้าถึงธรรมได้โดยง่าย
4. ได้ชื่อว่าเป็นผู้สามารถใช้ทรัพย์สมบัติให้เกิดเป็นบุญกุศลติดตัวไปในภพเบื้องหน้าได้อย่างเต็มที่
5. ทำให้เป็นคนรูปงาม ผิวพรรณงาม เป็นที่รักของคนทั่วไป
6. ทำให้เป็นผู้มีชื่อเสียง เกียรติคุณ น่ายกย่องสรรเสริญ เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาน่าเคารพนับถือ